เรื่อง...การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย(มหาวิทยาลัยบูรพา)
วัตถุประสงค์การวิจัย
1. เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน เพื่อส่งเสริม
ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อน และหลังการใช้รูปแบบ
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน
3. เพื่อวัดเจตคติของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน
แผนการจัดประสบการณ์การเรียนร้โดยใช้สมองเป็นฐาน ู
เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
ของเด็กปฐมวัย
ชั้นอนุบาลปี ที่ 2 (อายุ5-6 ปี )
เรื่อง สัตว์เลี้ยงแสนรัก
จุดประสงค์การเรียนรู้
เมื่อเด็กได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แล้วสามารถพัฒนาทักษะพื้นฐาน
ทางคณิตศาสตร์
1. สังเกตอวัยวะของสัตว์
2.จําแนกรูปร่างลักษณะของสัตว์ได้
3. เปรียบเทียบ ขนาดรูปร่างของสัตว์
4.จัดหมวดหมู่สัตว์แต่ละประเภทได้
5.วัดขนาดของสัตว์ได้
6.จัดลําดับตามขนาด ความสูง
7. นับจํานวนสัตว์
8. บอกตําแหน่งของสัตว์แต่ละประเภท
ขั้นที่1 ขั้นสร้างความสนใจ
1.ครูและเด็กร่วมกันร้องเพลง “สัตว์เลี้ยง” โดยครูร้อง
ให้ฟัง 2 ครั้งและชี้ไปที่แผนแผนภูมิเพลง ่
2. เด็กร้องเพลงสัตว์เลี้ยงและทําท่าทางประกอบเพลง
3.ครูเล่านิทานเรื่อง “สัตว์เลี้ยงแสนรัก”โดยใช้หนังสือ
นิทาน
4.ครูใช้คําถามปลายเปิด ดังนี้
- นิทานเรื่อง “สัตว์เลี้ยงแสนรัก” มีสัตว์อะไรบ้าง
- สัตว์แต่ละชนิดมีลักษณะอย่างไร -อาศัยอยูที่ไหน -อาหารของสัตว์เหล่านั้นคืออะไร
- สัตว์ที่เลี้ยงได้คืออะไร
-ถ้าให้เด็ก เลือกเลี้ยงสัตว์ได้ เด็ก ๆ จะเลี้ยงสัตว์
อะไร เพราะอะไร
- เด็ก ๆ จะเลี้ยงที่ไหน เลี้ยงด้วยอะไร มีวิธีการเลี้ยง
และดูแลอย่างไร - เด็ก ๆ จะเลี้ยงได้จริงหรือไม่
เพราะอะไร
ขั้นที่ 2 ขั้นวางแผน
1. ครูและเด็กทบทวนเนื้อหานิทานเรื่อง “สัตว์เลี้ยงแสน
รัก”
2. เด็กและครูร่วมกนอภิปรายเกี่ยวกับลักษณะ ที่อยู่อาศัย อาหาร การเลี้ยงดูของสัตว์แต่ละชนิด
3. เด็ก ๆ วาดสัตว์ที่ตนเองอยากเลี้ยงพร้อมทั้งบอกเหตุผล
4. เด็ก ๆ แบ่งกลุ่ม ๆ ละ 5 คน ช่วยกนวางแผนการเลี้ยงสัตว์
ขั้นที่ 3 ขั้นปฏิบัติกิจกรรม
1.ครูและเด็กทบทวนลักษณะของสัตว์ อาหาร ที่อยู่ อาศัย การเลี้ยงดู
2.ครูสนทนากับเด็กในแต่ละกลุ่มว่าเลี้ยงสัตว์ อะไรบ้าง
3. ครูจัดประสบการณ์ให้เด็กโดยพาเด็กไปดูการเลี้ยง วัว กระต่าย หมูและเปิดวีดีโอให้เด็กดูสําหรับกลุ่มที่ไม่ได้รับประสบการณ์ตรง
4. เด็กวาดภาพสิ่งที่ตนเองพบหรือประทับใจหลังจาก กลับจากดูสัตว์เลี้ยง
ขั้นที่ 4 ขั้นทบทวน
1.ครูและเด็กทบทวนลักษณะของสัตว์ อาหาร ที่อยู่ อาศัย การเลี้ยงดู
2.ครูสนทนากับเด็กในแต่ละกลุ่มว่าเลี้ยงสัตว์อะไรบ้าง
3. สัตว์ที่เด็ก ๆ จะเลี้ยงมีชื่อว่าอะไร เลี้ยงอย่างไร สามารถเลี้ยงได้หรือไม่ เพราะอะไร
ขั้นที่ 5 ขั้นนําเสนอ
1. เด็ก ๆ แต่ละกลุ่มเสนอสัตว์เลี้ยงที่ตนเองเลือก
2.ครูสนทนากับเด็กในแต่ละกลุ่มว่าเลี้ยงสัตว์ อะไรบ้าง
3. สัตว์ที่เด็ก ๆ จะเลี้ยงมีชื่อวาอะไร เลี้ยงอย่างไร สามารถเลี้ยงได้หรือไม่ เพราะอะไร
ขั้นที่ 6 ขั้นประเมินผลการเรียนรู้
เด็ก ๆ แต่ละกลุ่มนําแผนแผนภูมิรูปภาพที่ตนเอง วาดมาให้เพื่อน ๆ ดูพร้อมอธิบายและตอบคําถาม
แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
ชั้นอนุบาลปี ที่2 (อายุ5-6 ปี )
เรื่อง เงิน
จุดประสงค์การเรียนรู้
เมื่อเด็กได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แล้วสามารถพัฒนาทักษะพื้นฐาน
ทางคณิตศาสตร์
1. เด็กบอกลักษณะและความแตกต่างของเงินที่ใช้ในปัจจุบันได้
2. เด็กสามารถบอกค่าของเงินแต่ละชนิดได้
3. เด็กสามารถเปรียบเทียบจํานวนมากกวา น้อยกว่าได้ ่
4. เด็กบอกค่าของเงินชนิดต่าง ๆ ได้
5. เด็กคาดคะเนได้
6. เด็กรู้จักแลกเปลี่ยนเงินจํานวนไม่
เกิน 20 ได้ด้วยตนเอง
7. เด็กบอกค่าของเงินได้
8. เด็กเรียนรู้วิธีการที่จะได้เงินและความสําคัญของเงิน
ขั้นที่ 1 ขั้นสร้างความสนใจ
1. เด็ก ๆ ฟังเสียงของเหรียญที่อยูในกล่องปริศนาแล้วทายว่า สิ่งใดอยู่ในกล่อง
2. เด็กอธิบายลักษณะของสิ่งที่อยู่ในกล่อง (เงิน)
3. เด็กช่วยกันแยกประเภทของเงินชนิดที่เป็นเหรียญ และเป็นธนบัตร
4. เด็ก ๆ เลือกเงินคนละ 1 ชนิด บอกประเภทและค่าของเงินนั้นให้เพื่อน
5. เด็กท่องคําคล้องจอง
“มีสลึงพึงบรรจบให้ครบบาท
อย่าให้ขาดสิ่งของต้องประสงค์
มีน้อยใช้น้อยค่อยบรรจง
อย่าจ่ายลงให้มากจะยากนาน”
เด็กอธิบายถึงเนื้อหาในคําคล้องจอง
6. ครูใช้คําถามปลายเปิด
- เด็กคิดเห็นว่าเงินมีความสําคัญอย่างไร - ทําอย่างไรถึงจะได้เงินมา - เด็กคิดหาวิธีการหาเงินแบบง่ายด้วยตนเองครูมีกิจกรรมเปิดท้าย
ขั้นที่ 2 ขั้นวางแผน
1.ครูนําภาพกิจกรรมเปิดท้ายสินค้าราคาถูกของโรงเรียนให้ดู
2. เด็กเข้ากลุ่มเลือกสินค้า สิ่งของที่จะสามารถนํามา
จําหน่ายได้
ขั้นที่ 3 ขั้นปฏิบัติกิจกรรม
1. เด็กปฏิบัติกิจกรรมตามแผนที่วางไว้ตามกระบวนการ
ดังนี้
- นําสิ่งของ สินค้ามาจากบ้าน
- ช่วยกันปฏิบัติตามแผนที่วางไว้ ั
- ติดป้ายราคา
-ครูดูแลอย่างใกล้ชิดทีละกลุ่มตามแผนที่วางไว้
2.ครูสนทนากับเด็กในแต่ละกลุ่ม กำหนด วัน เวลา ํ
จําหน่ายสินค้าอีกครั้ง
ขั้นที่ 4 ขั้นทบทวน
1.ครูและเด็กทบทวนกิจกรรม
-วัน เวลา
- สินค้าที่จําหน่ายมีอะไรบ้างให้เด็กทําบัญชีอย่างง่าย
ขั้นที่ 5 ขั้นนําเสนอ
1. เด็ก ๆ แต่ละกลุ่มนําเสนอสินค้าที่ตนเองนํามาจําหน่าย
-ขายได้หรือไม่
อย่างไร
ขั้นที่ 6 ขั้นประเมินผลการเรียนรู้
เด็ก ๆ แต่ละกลุ่มนําเงินที่ได้จากการจําหน่ายสินค้ามา
เล่าให้เพื่อน ๆ ฟัง ครูสรุปกิจกรรม
สรุปผลการวิจัย
ผลการพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อส่งเสริม
ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย สรุปผลได้ดังนี้
1. รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ มีความเหมาะสม
อยูในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย
ตั้งแต่3.75-4.25 โดยรูปแบบการสอนมี6 ขั้น ได้แก่
ขั้นที่ 1 ขั้นสร้างความสนใจ
ขั้นที่ 2 ขั้นวางแผน
ขั้นที่ 3 ขั้นปฏิบัติกิจกรรม
ขั้นที่ 4 ขั้นทบทวน
ขั้นที่ 5 ขั้นนําเสนอ
ขั้นที่ 6 ขั้นประเมินผลการเรียนรู้
2. ผลการเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนเรียน หลังเรียน
ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน พบว่าเด็กปฐมวัย ่มีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ ่ .01
3. ผลการศึกษาเจตคติของเด็กปฐมวัยที่มีต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมอง
เป็นฐานปฏิบัติกิจกรรมของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน พบว่าเด็กปฐมวัยมีเจตคติที่ดีต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานอยู่ในระดับมาก
ลิงค์ : http://digital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/files/52810159.pdf
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น