วันอังคารที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

บันทึกหลังการเรียนรู้ครั้งที่ 14

วันที่ 2 พฤษภาคม  2561 









 การทำกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการทางคณิตศาสตร์สำหรับผู้ปกครอง  

เรื่องการนับและการแยกประเภทผลไม้

อุปกรณ์

1.) ส้ม 2-3 ผล
2.) มะม่วง 2-3 ผล
3.) เงาะ 2-3 ผล
(เปลี่ยนเป็นผลไม้อื่นๆ ได้ตามฤดูกาล)
4.) กระจาดหรือตะกร้า
5.) ผ้าสำหรับคลุมผลไม้

ขั้นจัดกิจกรรม
1.) ผู้ปกครองนำส้ม มะม่วง เงาะใส่ในกระจาดหรือตะกร้า แล้วใช้ผ้าคลุมไว้
2.) ให้เด็กออกมาคลำและบอกว่าเป็นผลไม้อะไร และถามว่าผลไม้ชนิดนั้นมีกี่ผล
3.) เมื่อคลำจนครบ ผู้ปกครองเปิดผ้าคลุมออก
ให้เด็กบอกชื่อผลไม้ในกระจาดหรือตะกร้าและช่วยกันนับจำนวนผลไม้
4.) ให้เด็กออกมาแยกประเภทผลไม้ 

ประโยชน์ที่ได้รับ
1.) ลูกได้ใช้เวลาอยู่ที่บ้านให้เกิดประโยชน์
2.) ลูกเกิดทักษะในการคิด สังเกต การแยกแยะ
3.) พ่อแม่รู้ถึงพัฒนาการและความสามารถของลูก
4.) สิ่งรอบตัวสามารถนำมาใช้ให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ในด้านคณิตศาสตร์ได้


ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียน และรับฟังความคิดเห็นจากอาจารย์ค่ะ
ประเมินเพื่อน : เพื่อนให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมทุกกิจกรรมดีค่ะ
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์น่ารักและเป็นกันเองค่ะ สอนสนุก และให้คำที่แนะนำดีค่ะ

บันทึกหลังการเรียนรู้ครั้งที่ 13

วันที่ 25 เมษายน 2561





วันนี้อาจารย์ให้นำเสนอสื่อการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สหรับเด็กปฐมวัยจากวัสดุเหลือใช้ (ถาดไข่)  ได้แก่  เกมจัดหมวดหมู่   เกมแบบแกนมิติสัมพันธ์   เกมอนุกรมภาพเหมือน            เกมต่อจิ๊กซอว์   เกมภาพอะไรนะที่หายไป และเกมบวกเลข


                                         

"เกมลูกเต๋าเสี่ยงไข่"

                                                 


วิธีการเล่น1.) ให้เด็กแบ่งกลุ่มออกเป็น 2 กลุ่ม
2.) กำหนดให้เด็กแต่ละกลุ่มเป็น มด หรือ ผึ้ง3.) ให้เด็กโยนลูกเต๋า จากนั้นมาหยิบไข่ที่อยู่ในแผงตามจำนวนเลขลูกเต๋าที่เด็กได้
4.) ให้เด็กเก็บไข่ของตัวเอง และเปลี่ยนกันโยนลูกเต๋า หยิบไข่ จนครบตามที่กำหนด5.) จากนั้นให้เด็กเปิดไข่และดูรูปภาพ หากไข่ที่เปิดไม่ใช่รูปที่กำหนดของกลุ่ม เด็กต้องนำมาวางไว้ในแผงเหมือนเดิม  และนับจำนวนไข่ที่ได้ของแต่ละกลุ่ม เพื่อเปรียบเทียบใครได้จำนวนมากที่สุด และน้อยที่สุด ประโยชน์ที่ได้รับ1.) ช่วยพัฒนาในด้านกล้ามเนื้อมือมัดเล็ก เช่น การหยิบ จับ โยนลูกเต๋า2.) ด้านสติปัญญาในเรื่องการนับจำนวนเลขในลูกเต๋า
3.) ด้านอารมณ์จิตใจเด็กเกิดความเพลิดเพลินสนุกสนาน 




ประเมินตนเอง : ตั้งใจร่วมกิจกรรมค่ะ
ประเมินเพื่อน : เพื่อนช่วยกันจัดกิจกรรมด้วยความสนุกสนานค่ะ
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ช่วยเหลือให้การจัดกิจกรรมดีมากค่ะ

มาตรฐานกลุ่มสาระการเรียนคณิตศาสตร์









6 สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์


สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
มาตรฐาน ค 1.1เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง
มาตรฐาน ค 1.2เข้าใจถึงผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการของจำนวนและความสัมพันธ์
ระหว่างการดำเนินการต่างๆ  และใช้การดำเนินการในการแก้ปัญหา
มาตรฐาน ค 1.3ใช้การประมาณค่าในการคำนวณและแก้ปัญหา
มาตรฐาน ค 1.4เข้าใจระบบจำนวนและนำสมบัติเกี่ยวกับจำนวนไปใช้
สาระที่ 2 การวัด
มาตรฐาน ค 2.1เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัด วัดและคาดคะเนขนาดของสิ่งที่ต้องการวัด
มาตรฐาน ค 2.2แก้ปัญหาเกี่ยวกับการวัด
สาระที่ 3 เรขาคณิต
มาตรฐาน ค 3.1อธิบายและวิเคราะห์รูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ
มาตรฐาน ค 3.2ใช้การนึกภาพ (visualization) ใช้เหตุผลเกี่ยวกับปริภูมิ (spatial
reasoning)  และใช้แบบจำลองทางเรขาคณิต (geometric model)
ในการแก้ปัญหา
สาระที่ 4 พีชคณิต
มาตรฐาน ค 4.1เข้าใจและวิเคราะห์แบบรูป (pattern)  ความสัมพันธ์  และฟังก์ชัน
มาตรฐาน ค 4.2ใช้นิพจน์  สมการ  อสมการ  กราฟ  และตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์ 
(mathematical  model) อื่นๆ แทนสถานการณ์ต่างๆ ตลอดจน
แปลความหมาย และนำไปใช้แก้ปัญหา
สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
มาตรฐาน ค 5.1เข้าใจและใช้วิธีการทางสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล
มาตรฐาน ค 5.2ใช้วิธีการทางสถิติและความรู้เกี่ยวกับความน่าจะเป็นในการคาดการณ์ได้
อย่างสมเหตุสมผล
มาตรฐาน ค 5.3ใช้ความรู้เกี่ยวกับสถิติและความน่าจะเป็นช่วยในการตัดสินใจและแก้ปัญหา
สาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
มาตรฐาน ค 6.1มีความสามารถในการแก้ปัญหา  การให้เหตุผล  การสื่อสาร  การสื่อ
ความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ
ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ และมีความคิด
ริเริ่มสร้างสรรค์

ที่มา : http://www.sjt.ac.th/group/math/standard.htm

บันทึกหลังการเรียนครั้งที่ 12

วันที่ 20 เมษายน 2561






วันนี้อาจารย์ให้ออกมานำเสนอเกมการศึกษาที่ทำจากแผงไข่ของแต่ละคู่ มีทั้งเกมจัดหมวดหมู่
เกมแบบแกนมิติสัมพันธ์  เกมอนุกรมภาพเหมือน  เกมต่อจิ๊กซอว์   เกมภาพอะไรนะที่หายไป เกมบวกเลข  โดยให้บอกชื่อเกมการศึกษา  วิธีการเล่นและประโยชน์ที่ได้รับ  และต้องมีใบเฉลยให้เด็กดูด้วยเพื่อตรวจสอบความถูกต้อง




  การสาธิตเกมการศึกษาอนุกรมภาพเหมือน โดยต้องมีรูปแบบอย่างน้อย 2 เซต เพื่อให้รู้แบบรูปที่จะวางในช่องต่อไปได้ถูกต้องค่ะ
        ต่อมาเป็นการนำเสอการรายงานของเพื่อนๆ ในหัวข้อ บทความ การจัดประสบการณ์ทาคณิตศาสตร์ และการวิจัยที่เกี่ยวกับการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์  ดังนี้
1.บทความ เรื่อง นิทานกับการสอนคณิตศาสตร์
       นิทานที่นำมาใช้ควรเป็นนิทานสร้างคุณธรรม-จริยธรรม สนุกสนานและนำไปสู่การหาคำตอบของการเรียนรู้   การเล่านิทาน  ควรมี เรื่องราว  ตัวละคร  ฉากและการดำเนินการ
2.บทความ เรื่อง ดีจริงหรือที่เร่งอ่าน  เขียน คณิตศาสตร์ในเด็กอนุบาล
       ไม่ควรเร่งรีบแต่ควรให้เรียนรู้คณิตศาสตร์ที่อยู่ในชีวิตประจำวันโดยเริ่มจากเรื่องใกล้ๆตัวเด็กก่อน
3.บทความ เรื่อง พัฒนาการด้านตัวเลขของเด็กวัย 1-6 ปี (พร้อมไอเดียดีๆในการส่งเสริมลูกรัก)
        วิธีการต่างๆให้เด็กเรียนรู้ อย่างเหมาะสมกับพัฒนาการและช่วงอายุอย่างถูกต้อง
4.การจัดประสการณ์เพิ่มทักษะทางคณิตศาสตร์ทักษะการเปรียบเทียบ
        ขั้นนำ  ขั้นสอน และขั้นสรุป
5.วิจัย เรื่อง การเปรียบเทียบความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
        โดยใช้กับเกมการศึกษาในการทดสอบความพร้อมของเด็กปฐมวัย


                                       

ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียนค่ะ
ประเมินเพื่อน : เพื่อนให้ความร่วมมือดีค่ะ ทุกกิจกรรม
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์แนะนำ และวิธีการแก้ไขของชิ้นงานค่ะ

บันทึกหลังการเรียนครั้งที่ 11

วันที่ 4 เมษายน 2561







วันนี้อาจารย์ให้มารายงานการคืบหน้าของการทำเกมการศึกษาคณิตศาสตร์ด้วยแผงไข่ เพื่อนำ
ปรับปรุงเพิ่มเติมให้ถูกต้อง และได้มีเพื่อนออกมารางงานการวิจัยเพิ่มเติม  
ในเรื่อง เรื่อง ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนว
มอนเตสซอรี่ ในเรื่องการเล่นเกมการศึกษาในเรื่องเลขฐานสิบ  กล่องกระสวย





ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียน และฟังคำอธิบายจากอาจารย์ค่ะ
ประเมินเพื่อน : เพื่อนตั้งใจเรียน และฟังคำติชมจากอาจารย์ค่ะ
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์อธิบายเกี่ยวกับสื่อได้ละเอียดมากค่ะ 

บันทึกหลังการเรียนรู้ครั้งที่ 10

วันที่ 29 มีนาคม 2561








วันนี้เพื่อนได้นำเสนองานค่ะ

1.การวิจัย  เรื่อง  การศึกษาทักษะพื้นฐานทางด้านคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การประกอบอาหารพื้นบ้านอีสาน     ส่วนขั้นตอนการสอน ควรมีการเขียนเป็นแผนผังความคิด (มีกรอบและลูกศชี้อย่างถูกต้อง)
    2.การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์  เรื่อง  ตัวเลขกับเด็กอนุบาล    ต้องมีการกำหนดวัตถุประสงค์ที่เด็กจะได้เรียนรู้    ลำดับขั้นตอนการสอนอย่างละเอียดและสรุปการสอนเป็นแผนผังความคิดให้เด็กๆได้รู้อย่างชัดเจน
    3.การวิจัย เรื่อง ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวมอนเตสซอรี่   โดยใช้เกมการศึกษาต่างๆให้เด็กได้เรียรู้
    การบูรณาการ มี 2 แบบ  คือ  1.แบบเนียน   2.แบบรับรู้ได้บ้าง



                                          
                                         

 สุดท้ายอาจารย์ให้ ออกแบบสื่อ โดยใช้แผงไข่ไก่ทำเป็นสื่อการเรียนรู้


ประเมินตนเอง: ตั้งใจเรียนค่ะ
ประเมินเพื่อน : เพื่อนตั้งใจเรียนค่ะ อาจมีบางครั้งที่คุยกัน
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์สอนสนุกค่ะ 

บันทึกหลังการเรียนครั้งที 9


วันที่ 23 มีนาคม 2561 









วันนี้เพื่อนนำเสนองานค่ะ 

1.เรื่อง การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์การนับจำนวนผลแอปเปิ้ล    
2.การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์การสอนคณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน
3.การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์การสอนนับเลข 1-10





 ต่อมาเป็นกิจกรรมนับหมวก มีหมวกสีแดงและหมวกสีน้ำเงิน  โดยใช้สีเป็นเกณฑ์ในการวางจัดเรียงให้ถูกต้อง  การเรียงใหม่ต้องเรียงจากซ้ายไปขวาเสมอๆ   ผลสรุป คือ หมวกสีแดงเหลืออยู่ 1 ใบ แสดงว่า หมวกสีแดงมากกว่าหมวกสีน้ำเงินอยู่ 1 ใบ  เรียนรู้ในเรื่องการเปรียบเทียบ

                                                

ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียนค่ะ 
ประเมินเพื่อน : เพื่อนให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมดีค่ะ
ประเมินอาจารย์ : วันนี้อาจารย์มีกิจกรรมให้ทำหลายกิจกรรมค่ะ สนุกมากค่ะ 

วันอาทิตย์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2561

บันทึกหลังการเรียนครั้งที่ 8

วันที่ 16 มีนาคม 2561 








         สาระที่ 1  จำนวนและการดำเนินการ       -จำนวนนับที่บอกสิ่งต่างๆ       -จำนวนนับ  หนึ่ง  สอง  สาม สี่  ห้า...เป็นจำนวนนับที่เพิ่มขึ้นที่ละหนึ่งตามลำดับ                           ศูนย์ไม่ใช้จำนวนนับ       -ตัวเลข  เป็นสัญลักษณ์ที่ใช้เขียนแสดงจำนวน       -สัญญาลักษญ์พื้นฐานที่ใช้เขียนแสดงจำนวน เรียกว่า  เลขโดด  ในระบบฐานสิบ มี 10 ตัว ดังนี้ตัวเลขฮินดูอารบิก  ได้แก่  0  1   2   3  4  5  6  7  8  9ตัวเลขไทย   ได้แก่  o  ๑  ๒  ๓  ๔  ๕  ๖  ๗  ๘  ๙อ่านว่า  หนึ่ง  สอง  สาม  สี่  ห้า  หก  เจ็ด  แปด  เก้า  สิบ  ตามลำดับ       -จำนวนสองจำนวนเมื่อนำมาเปรียบเทียบกันจะมีค่าเท่ากัน  มากกว่ากัน หรือน้อยกว่ากันอย่างใด     อย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียว        -การเรียงลำดับจำนวนอาจเรียงจากน้อยไปหามาก หรือจากมากไปหาน้อย       -การบอกอันดับที่ของสิ่งต่างๆ  จะต้องกำหนดสิ่งเริ่มต้นก่อน  แล้วจึงจัดอันดับ ที่หนึ่ง  ที่สอง        ที่สาม  ที่สี่  ที่ห้า... เป็นการบอกอันดับที่        -การรวมตัวเป็นการนับรวมจำนวนต่างๆ สองกลุ่ม  ได้ผลรวมมากขึ้น        -การแยกเป็นการนำจำนวนสิ่งต่างๆ ออกจากกลุ่มใหญ่แล้วบอกจำนวนที่เหลือสาระที่ 2 การวัด          -การวัดความยาวของสิ่งต่างๆเป็นการหาความยาวตามแนวนอน          -การวัดความสูงเป็นการหาความยาวแนวตั้ง         -การวัดความยาว  ความสูง  ของสิ่งต่างๆ  อาจใช้เครื่องมือวัดที่มีหน่วยไม่ใช่หน่วยมาตรฐาน  ยาวกว่า  สั้นกว่า  สูงกว่า  เตี้ยกว่า ต่ำกว่า  ยาวเท่ากัน สูงเท่ากัน  เป็นคำที่ใช้ในการเปรียบเทียบความยาว ความสูงของสิ่งต่างๆ        -การรียงลำดับความยาว ความสูง  อาจเรียงจากน้อยไปหามากหรือมากไปน้อย        -การชั่งน้ำหนักของสิ่งต่างๆอาจใช้เครื่องวัดชั่งน้ำหนักที่มีหน่วยไม่ใช่มาตรฐาน                            หนักกว่า  เบากว่า  หนักเท่ากัน  เป็นคำที่ใช้ในการเปรียบเทียบน้ำหนักของสิ่งต่างๆ        -การเรียงลำดับน้ำหนักของสิ่งต่างๆอาจเรียงจากน้อยไปหามากหรือจากมากไปหาน้อย        -การตวงของสิ่งต่างๆ อาจใช้เครื่องมือตวงที่มีหน่วยไม่ใช่หน่วยมาตรฐาน        -ปริมาตรมากกว่า ปริมาตรน้อยกว่า ปริมาตรเท่ากัน  เป็นคำที่ใช้ในการเปรียบเทียบปริมาตร            ของสิ่งต่างๆ         -การเรียงลำดับปริมาตรของสิ่งต่างๆ  อาจเรียงจากน้อยไปหามาก  หรือจากมากไปหาน้อย        - เงินเหรียญและธนบัตร  เป็นสิ่งที่ใช้ในการซื้อขายตัวเลขที่ด้านหลังเงินเหรียญ บอกค่าของเหรียญแต่ละเหรียญ ตัวเลขที่อยู่บนธนบัตรบอกค่าของธนบัตรแต่ละฉบับ   บาท เป็นสกุเงินไทย         -เวลาแต่ละวันแบ่งเป็น ช่วงใหญ่ๆ คือ  กลางวันและกลางคืน         - เช้า  เที่ยง  เย็น  เมื่อวาน  วันนี้  พรุ่งนี้  เป็นคำที่ใช้บอกช่วงเวลาต่างๆ         -1 สัปดาห์ มี 7 วันเรียงลำดับดังนี้ วันอาทิตย์  วันจันทร์  วันอังคาร  วันพุธ  วันพฤหัสบดี  วันศุกร์และวันเสาร์สาระที่  3 เรขาคณิต       -ข้างบน  ข้างล่าง  ข้างใน  ข้างนอก  ข้างหลัง  ข้างซ้าย  ข้างขวา  ใกล้   ไกล  เป็นคำที่ใช้บอกตำแหน่งทิศทาง  ระยะทางของสิ่งต่างๆ         -การจำแนกทรงกลม  ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก  กรวย  ทรงกระบอก  และรูปวงกลม  รูปสามเหลี่ยมรูปสี่เหลี่ยม  ใช้วิธีพิจารณารูปร่างและขอบของรูปสาระที่ 4  พีชคณิต        -แบบรูปเป็นความสัมพันธ์ที่แสดงลักษณะสำคัญร่วมของชุด  ของจำนวนรูปเรขาคณิต หรือสิ่งต่างๆสาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น        -การเก็บรวบรวมข้อมูลอาจใช้วิธีสังเกตหรือสอบถามก็ได้        -แผนภูมิรูปภาพเป็นการนำเสนอข้อมูลอย่างง่าย โดยใช้รูปภาพแสดงจำนวนของสิ่งต่างๆ อาจวางรูปตามแนวนอนหรือแนวตั้งก็ได้สาระที่ 6  ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์        -การแก้ปัญหา   การให้เหตุผล  การสื่อสาร  การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์และการนำเสนอการเชื่อมโยงความรู้ต่างๆทางคณิตสาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆและมีความคิดสร้างสรรค์



ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียนค่ะ
ประเมินเพื่อน : เพื่อนช่วยกันตอบคำถามดีค่ะ
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ตั้งใจสอนมากๆค่


วันจันทร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2561

บันทึกหลังการเรียนครั้งที่ 7

วันrพุธที่ 21 กุมภาพันธ์ 2561










การนำเสนอของเพื่อน
1.บทความ เสริมการเรียนเลขให้กับลูกพ่อและแม่ต้องเป็นแบบอย่างที่ดีและเรียนรู้ไปพร้อมกับลูก ให้ลูกมีวิธีกระบวนการคิดที่ดี  เข้าใจสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตรืได้อย่างเข้าจดี
2.วิจัย  เรื่อง ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเพาะปลูกพืชเพื่อให้เด็กมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ที่ดีและรู้จักด้านการรู้ค่าจำนวน  การเปรียบเทียบ และการเรียง
ลำดับของจำนวนทางคณิคศาสตร์




ประเมินตนเอง : ตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนองานค่ะ
ประเมินเพื่อน: เพื่อนตั้งใจเรียนค่ะ อาจจะมีเสียงดังบ้างนิดหน่อยค่ะ
ประเมินผู้สอน : อาจารย์เสริมเรื่องที่เพื่อนนำเสนอได้เข้าใจดีค่ะ

วันอาทิตย์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

บันทึกหลังกาเรียน ครั้งที่ 6

วันพุธ ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2561 





    ทฤ นักษฎีการเรียนรู้ ดังนี้ เพียเจท์ การเรียนรู้สติปัญญา  ธอร์นไดด์ การเรียนรู้จากรูปธรรมและนามธรรม 
และสกินเนอร์ การเสริมแรง

ความรู้ทางด้านคณิตศาสตร์ตามหลักเพียเจท์

         เพียเจท์  ได้แบ่งพัฒนาการทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กเป็น 2 ชนิด  ดังนี้
1.ความรู้ทางกายภาพ   เช่น เครื่องเล่นสนามเด็กเล่น  รูปทรงบล็อกต่างๆ
2.ความรู้ด้านเหตุผลทางคณิตศาสตร์  เช่น  การแบ่งสี   การบวกเลขลบเลข

ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย          ประกอบด้วยหัวข้อเนื้อหาหรือทักษะ
1.การนับ (Counting)  เช่น  การนับจำนวนรูปภาพ  การนับจำนวนเด็กในห้องเรียน
2.ตัวเลข (Number)   เช่น  การอ่านวันที่   การชั่งน้ำหนัก-ส่วนสูง
3.การจับคู่  (Matching)   เช่น   การจับคู่ภาพเหมือนผลไม้    การจับคู่ภาพที่แตกต่างจากพวก
4.การจัดประเภท (Classification)  เช่น  การจัดหมวดหมู่เครื่องเขียน   การจัดหมวดหมู่เครื่องแต่งกาย
5.การเปรียบเทียบ (Comparing)    เช่น   การเปรียบเทียบราคาผักว่าแพง-ถูก   การเปรียบเทียบขนาดรองเท้าว่าใหญ่-เล็ก
6.การจัดลำดับ  (Ordering)   เช่น  การจัดลำดับส่วนสูงของเด็กในห้องเรียน    การจัดลำดับดินสอยาว-สั้น
7.รูปทรงและเนื้อที่ (Shape and space)  เช่น  รูปทรงเรขาคณิต   รูปทรงแก้วน้ำ-ขวดน้ำ
8.การวัด (Measurement)   เช่น  การวัดพื้นที่สนามเด็กเล่น    การวัดส่วนสูง
9.เซต  (Set)   เช่น  การจัดกลุ่มระหว่างผู้ชายกับผู้หญิง   การจัดกลุ่มระหว่างผมยาว-ผมสั้น
10.เศษส่วน  (Fraction)   เช่น  การนับลูกชิ้นในไม้เสียบ   การนับขนมในห่อ
11.การทำตามแบบและลวดลาย  (Patterning)   เช่น  การวาดรูปตามที่กำหนด   การเขียนตามเส้นปะ ก-ฮ
12.การอนุรักษ์ หรือการคงที่ด้านปริมาณ (Conservation)  เช่น   การนำวัสดุธรรมชาติมาประดิษฐ์องเล่น  การเรียนรู้การนับเลข


ประเมิน

ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียนค่ะ
ประเมินเพื่อน : ตั้งใจเรียนค่ะ มีคุยกันบ้างค่ะ
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์สอนเข้าใจดีค่ะ ให้ทบทวนความรู้เดิมค่ะ

วันอาทิตย์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

บันทึกหลังการเรียน ครั้งที่ 5


วันศุกร์ ที่ 9 กุมาพันธ์ 2561



                                 


                          วันนี้นำเสนอวิจัย เรื่อง... การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ของคุณ วิจิตตรา จันทร์ศิริ  
สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
สรุป
  
       เน้นเรื่องการจัดประสบการณ์ให้กับเด็ก แบ่งเป็นขั้นตอนทั้งหมด 6 ขั้น
  -ขั้นที่ 1 ขั้นสร้างความสนใจ
  -ขั้นที่ 2 ขั้นวางแผน
  -ขั้นที่ 3 ขั้นปฏิบัติกิจกรรม
  -ขั้นที่ 4 ขั้นทบทวน
  -ขั้นที่ 5 ขั้นนำเสนอ
  -ขั้นที่ 6 ขั้นประเมินผลการเรียนรู้

ตัวอย่าง  

      การจัดประสบการณ์ เรื่อง...เงิน (อนุบาล 2)
ขั้นที่ 1 ครูจะใส่เหรียญในกล่อง แล้วให้เด็กๆทาย ว่าในกล่องมีอะไร ?
ขั้นที่ 2 ครูนำภาพสินค้าภายในโรงเรียนให้เด็กทายราคา
ขั้นที่ 3 เด็กนำสิ่งของที่มาจำหน่าย ติดป้ายราคา โดยมีคุณครูดูแลอย่างใกล้ชิด
ขั้นที่ 4 ครูและเด็กทบทวนกิจกรรม 
ขั้นที่ 5 ให้เด็กแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอสินค้าของตนเอง
ขั้นที่ 6 ครูจะสรุปกิจกรรม 



คณิตศาสตร์อยู่ทุกหนแห่ง ?

1.บ้าน เช่น สิ่งของต่างๆ ภายในบ้าน และจำนวนคนที่อาศัยอยู่ภายในบ้าน
2.โรงเรียน เช่น การนับจำนวนเพื่อนที่มาเรียนในแต่ละวัน
3.ป้ายรถเมล์ เช่น ตัวเลขของสายรถเมล์ต่างๆ ระยะการเดินทาง และช่วงเวลาในการเดินทาง
4.สนามกีฬา เช่น การนับคะแนน จำนวนผู้เล่นในกีฬานั้นๆ

นักศึกษาใช้คณิตศาสตร์เมื่อใดบ้าง ?

1.การเดินทาง เช่น การคำนวนเวลาในการเดินทาง
2.การกิน เช่น การคำนวนราคาอาหาร ปริมาตรอาหาร และคุณภาพของอาหาร
3.การซื้อเสื้อผ้า เช่น คำนวนรูปทรงตัวเรา กับขนาดเสื้อผ้า และราคาที่ไม่สูงเกินไป
4.การซื้อเครื่องสำอาง เช่น การคำนวนราคา ปริมาตร และคุณภาพของสินค้า


                                      


ประเมิน

ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียนค่ะ และตอบคำถาม
ประเมินเพื่อน : เพื่อนให้ความร่วมมือในกิจกรรมดีค่ะ
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์สอนเข้าใจดีค่ะ มีกิจกรรมที่หลากหลายค่ะ

วันเสาร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

บันทึกหลังการเรียน ครั้งที่ 4

                                      




วันพุธ ที่ 31 มกราคม 2561





                          
                            วันนี้เรียนเรื่อง... คณิตศาสตร์ เป็นเครื่องมือในการหาจำนวนหาค่าต่างๆ  
              พัฒนาการ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงไปตามช่วงวัย ทั้ง 4 ด้าน ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ 
              ด้านสังคม  และด้านสติปัญญา  การแสดงออกด้วยพฤติกรรมตามลำดับอายุ ทั้ง 4 ด้าน
              ลักษณะของพัฒนาการ คือ การเปลี่ยนแปลงไปตามลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่องๆ 
              การทำงานของสมอง สมองจะซึมซับข้อมูลต่างๆที่ได้รับ ซึมซับให้นึกถึงฟองน้ำ (asimilation)
              และการเรียนรู้ คือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 








ประเมิน
ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียนค่ะ
ประเมินเพื่อน : ตั้งใจเรียนค่ะ 
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์สอนเข้าใจดีค่ะ 

วันพุธที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2561

บันทึกหลังการเรียน ครั้งที่3


วันพุธ ที่ 24 มกราคม 2561 


                วันนี้อาจารย์ติดประชุมค่ะ แต่สั่งงานให้ทำในชั่วโมงค่ะ อาจารย์ให้คิดสื่อเกี่ยวกับคณิตศาสาตร์ที่สามารถนำมาจัดประสบการณ์ให้เด็กปฐมวัยได้ค่ะ  จึงได้คิดสื่อชื่อ "กล่องหรรษา"  เป็นกล่องกระดาษที่ทำการเจาะเป็นรูปทรงเลขาคณิตค่ะ

  



วิธีการเล่น
จะมีรูปทรงเลขาคณิต จะเหมือนกันกับที่กล่องที่เราเจาะรูปทรงเลขาคณิตไว้แล้ว เราจะให้เด็กๆ 
นำรูปทรงเลขาคณิต จับคู่กันและต้องลงช่องที่ตรงกัน ที่เหมือนกัน สื่อชิ้นนี้เหมาะสำหรับเด็กอนุบาล 2 ขึ้นไปเพราะเด็กสามารถแยกรูปทรงต่างๆได้ค่ะ สื่อชิ้นนี้จะทำให้เด็กจดจำรูปทรงเลขาคณิตได้ง่ายขึ้นค่ะ