ทฤ นักษฎีการเรียนรู้ ดังนี้ เพียเจท์ การเรียนรู้สติปัญญา ธอร์นไดด์ การเรียนรู้จากรูปธรรมและนามธรรม
และสกินเนอร์ การเสริมแรง
ความรู้ทางด้านคณิตศาสตร์ตามหลักเพียเจท์
เพียเจท์ ได้แบ่งพัฒนาการทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กเป็น 2 ชนิด ดังนี้
1.ความรู้ทางกายภาพ เช่น เครื่องเล่นสนามเด็กเล่น รูปทรงบล็อกต่างๆ
2.ความรู้ด้านเหตุผลทางคณิตศาสตร์ เช่น การแบ่งสี การบวกเลขลบเลข
ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย ประกอบด้วยหัวข้อเนื้อหาหรือทักษะ
1.การนับ (Counting) เช่น การนับจำนวนรูปภาพ การนับจำนวนเด็กในห้องเรียน
2.ตัวเลข (Number) เช่น การอ่านวันที่ การชั่งน้ำหนัก-ส่วนสูง
3.การจับคู่ (Matching) เช่น การจับคู่ภาพเหมือนผลไม้ การจับคู่ภาพที่แตกต่างจากพวก
4.การจัดประเภท (Classification) เช่น การจัดหมวดหมู่เครื่องเขียน การจัดหมวดหมู่เครื่องแต่งกาย
5.การเปรียบเทียบ (Comparing) เช่น การเปรียบเทียบราคาผักว่าแพง-ถูก การเปรียบเทียบขนาดรองเท้าว่าใหญ่-เล็ก
6.การจัดลำดับ (Ordering) เช่น การจัดลำดับส่วนสูงของเด็กในห้องเรียน การจัดลำดับดินสอยาว-สั้น
7.รูปทรงและเนื้อที่ (Shape and space) เช่น รูปทรงเรขาคณิต รูปทรงแก้วน้ำ-ขวดน้ำ
8.การวัด (Measurement) เช่น การวัดพื้นที่สนามเด็กเล่น การวัดส่วนสูง
9.เซต (Set) เช่น การจัดกลุ่มระหว่างผู้ชายกับผู้หญิง การจัดกลุ่มระหว่างผมยาว-ผมสั้น
10.เศษส่วน (Fraction) เช่น การนับลูกชิ้นในไม้เสียบ การนับขนมในห่อ
11.การทำตามแบบและลวดลาย (Patterning) เช่น การวาดรูปตามที่กำหนด การเขียนตามเส้นปะ ก-ฮ
12.การอนุรักษ์ หรือการคงที่ด้านปริมาณ (Conservation) เช่น การนำวัสดุธรรมชาติมาประดิษฐ์องเล่น การเรียนรู้การนับเลข
ประเมิน
ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียนค่ะ
ประเมินเพื่อน : ตั้งใจเรียนค่ะ มีคุยกันบ้างค่ะ
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์สอนเข้าใจดีค่ะ ให้ทบทวนความรู้เดิมค่ะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น