วันอาทิตย์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

บันทึกหลังกาเรียน ครั้งที่ 6

วันพุธ ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2561 





    ทฤ นักษฎีการเรียนรู้ ดังนี้ เพียเจท์ การเรียนรู้สติปัญญา  ธอร์นไดด์ การเรียนรู้จากรูปธรรมและนามธรรม 
และสกินเนอร์ การเสริมแรง

ความรู้ทางด้านคณิตศาสตร์ตามหลักเพียเจท์

         เพียเจท์  ได้แบ่งพัฒนาการทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กเป็น 2 ชนิด  ดังนี้
1.ความรู้ทางกายภาพ   เช่น เครื่องเล่นสนามเด็กเล่น  รูปทรงบล็อกต่างๆ
2.ความรู้ด้านเหตุผลทางคณิตศาสตร์  เช่น  การแบ่งสี   การบวกเลขลบเลข

ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย          ประกอบด้วยหัวข้อเนื้อหาหรือทักษะ
1.การนับ (Counting)  เช่น  การนับจำนวนรูปภาพ  การนับจำนวนเด็กในห้องเรียน
2.ตัวเลข (Number)   เช่น  การอ่านวันที่   การชั่งน้ำหนัก-ส่วนสูง
3.การจับคู่  (Matching)   เช่น   การจับคู่ภาพเหมือนผลไม้    การจับคู่ภาพที่แตกต่างจากพวก
4.การจัดประเภท (Classification)  เช่น  การจัดหมวดหมู่เครื่องเขียน   การจัดหมวดหมู่เครื่องแต่งกาย
5.การเปรียบเทียบ (Comparing)    เช่น   การเปรียบเทียบราคาผักว่าแพง-ถูก   การเปรียบเทียบขนาดรองเท้าว่าใหญ่-เล็ก
6.การจัดลำดับ  (Ordering)   เช่น  การจัดลำดับส่วนสูงของเด็กในห้องเรียน    การจัดลำดับดินสอยาว-สั้น
7.รูปทรงและเนื้อที่ (Shape and space)  เช่น  รูปทรงเรขาคณิต   รูปทรงแก้วน้ำ-ขวดน้ำ
8.การวัด (Measurement)   เช่น  การวัดพื้นที่สนามเด็กเล่น    การวัดส่วนสูง
9.เซต  (Set)   เช่น  การจัดกลุ่มระหว่างผู้ชายกับผู้หญิง   การจัดกลุ่มระหว่างผมยาว-ผมสั้น
10.เศษส่วน  (Fraction)   เช่น  การนับลูกชิ้นในไม้เสียบ   การนับขนมในห่อ
11.การทำตามแบบและลวดลาย  (Patterning)   เช่น  การวาดรูปตามที่กำหนด   การเขียนตามเส้นปะ ก-ฮ
12.การอนุรักษ์ หรือการคงที่ด้านปริมาณ (Conservation)  เช่น   การนำวัสดุธรรมชาติมาประดิษฐ์องเล่น  การเรียนรู้การนับเลข


ประเมิน

ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียนค่ะ
ประเมินเพื่อน : ตั้งใจเรียนค่ะ มีคุยกันบ้างค่ะ
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์สอนเข้าใจดีค่ะ ให้ทบทวนความรู้เดิมค่ะ

วันอาทิตย์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

บันทึกหลังการเรียน ครั้งที่ 5


วันศุกร์ ที่ 9 กุมาพันธ์ 2561



                                 


                          วันนี้นำเสนอวิจัย เรื่อง... การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ของคุณ วิจิตตรา จันทร์ศิริ  
สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
สรุป
  
       เน้นเรื่องการจัดประสบการณ์ให้กับเด็ก แบ่งเป็นขั้นตอนทั้งหมด 6 ขั้น
  -ขั้นที่ 1 ขั้นสร้างความสนใจ
  -ขั้นที่ 2 ขั้นวางแผน
  -ขั้นที่ 3 ขั้นปฏิบัติกิจกรรม
  -ขั้นที่ 4 ขั้นทบทวน
  -ขั้นที่ 5 ขั้นนำเสนอ
  -ขั้นที่ 6 ขั้นประเมินผลการเรียนรู้

ตัวอย่าง  

      การจัดประสบการณ์ เรื่อง...เงิน (อนุบาล 2)
ขั้นที่ 1 ครูจะใส่เหรียญในกล่อง แล้วให้เด็กๆทาย ว่าในกล่องมีอะไร ?
ขั้นที่ 2 ครูนำภาพสินค้าภายในโรงเรียนให้เด็กทายราคา
ขั้นที่ 3 เด็กนำสิ่งของที่มาจำหน่าย ติดป้ายราคา โดยมีคุณครูดูแลอย่างใกล้ชิด
ขั้นที่ 4 ครูและเด็กทบทวนกิจกรรม 
ขั้นที่ 5 ให้เด็กแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอสินค้าของตนเอง
ขั้นที่ 6 ครูจะสรุปกิจกรรม 



คณิตศาสตร์อยู่ทุกหนแห่ง ?

1.บ้าน เช่น สิ่งของต่างๆ ภายในบ้าน และจำนวนคนที่อาศัยอยู่ภายในบ้าน
2.โรงเรียน เช่น การนับจำนวนเพื่อนที่มาเรียนในแต่ละวัน
3.ป้ายรถเมล์ เช่น ตัวเลขของสายรถเมล์ต่างๆ ระยะการเดินทาง และช่วงเวลาในการเดินทาง
4.สนามกีฬา เช่น การนับคะแนน จำนวนผู้เล่นในกีฬานั้นๆ

นักศึกษาใช้คณิตศาสตร์เมื่อใดบ้าง ?

1.การเดินทาง เช่น การคำนวนเวลาในการเดินทาง
2.การกิน เช่น การคำนวนราคาอาหาร ปริมาตรอาหาร และคุณภาพของอาหาร
3.การซื้อเสื้อผ้า เช่น คำนวนรูปทรงตัวเรา กับขนาดเสื้อผ้า และราคาที่ไม่สูงเกินไป
4.การซื้อเครื่องสำอาง เช่น การคำนวนราคา ปริมาตร และคุณภาพของสินค้า


                                      


ประเมิน

ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียนค่ะ และตอบคำถาม
ประเมินเพื่อน : เพื่อนให้ความร่วมมือในกิจกรรมดีค่ะ
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์สอนเข้าใจดีค่ะ มีกิจกรรมที่หลากหลายค่ะ

วันเสาร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

บันทึกหลังการเรียน ครั้งที่ 4

                                      




วันพุธ ที่ 31 มกราคม 2561





                          
                            วันนี้เรียนเรื่อง... คณิตศาสตร์ เป็นเครื่องมือในการหาจำนวนหาค่าต่างๆ  
              พัฒนาการ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงไปตามช่วงวัย ทั้ง 4 ด้าน ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ 
              ด้านสังคม  และด้านสติปัญญา  การแสดงออกด้วยพฤติกรรมตามลำดับอายุ ทั้ง 4 ด้าน
              ลักษณะของพัฒนาการ คือ การเปลี่ยนแปลงไปตามลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่องๆ 
              การทำงานของสมอง สมองจะซึมซับข้อมูลต่างๆที่ได้รับ ซึมซับให้นึกถึงฟองน้ำ (asimilation)
              และการเรียนรู้ คือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 








ประเมิน
ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียนค่ะ
ประเมินเพื่อน : ตั้งใจเรียนค่ะ 
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์สอนเข้าใจดีค่ะ